บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2022

13 วิธี ป้องกันภาวะ "อุจจาระตกค้าง"

รูปภาพ
  ภาวะอุจจาระตกค้าง สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แม้แต่ผู้ที่มี สุขภาพ ดีหรืออุจจาระทุกวันแต่อุจจาระไม่หมด  โดยอาจเกิดจากการเบ่งถ่ายผิดวิธีหรืออาจเกิดจากพฤติกรรมการกลั้นอุจจาระ  อุจจาระตกค้าง หากปล่อยไว้เป็นเวลานาน จนกลายเป็นอุจจาระที่ติดแน่นสะสม ส่งผลให้มีภาวะท้องผูกที่รุนแรงขึ้น แน่นท้อง รู้สึกมีลมจำนวนมาก คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ ตลอดจนหายใจติดขัด     การรับประทานยาระบายอาจส่งผลให้เกิดภาวะลำไส้ติดยา หรือลำไส้ดื้อยา และต้องเพิ่มปริมาณการใช้ยาระบายเรื่อยๆ จนกระทั่งใช้เท่าไหร่ก็ถ่ายไม่ออก   ปัญหาเรื่องการขับถ่ายไม่ใช่เรื่องน่าอาย แต่เป็นเรื่องสำคัญที่ส่งผลกระทบต่ออวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย และอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคอันตรายอย่าง มะเร็ง ลำไส้ หากละเลยไม่ใส่ใจก็อาจกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง ที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้อีกด้วย อุจจาระตกค้าง อาจเริ่มต้นจากอาการท้องผูก ด้วยเศรษฐกิจ อาหารการกิน รวมถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนในปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดปัญหาท้องผูก (Constipation) ซึ่งพบมากกว่าร้อยละ 30 ของประชาชนทั่วไป  และมักพบในผู้สูงอายุ รวมถึงพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 2 เท่

วิธีฝึกหายใจ ลดอาการแพนิก-ตื่นตระหนก

รูปภาพ
  อาการตื่นตระหนก สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย มีตั้งแต่อาการอ่อนๆ ที่เราสามารถควบคุมได้อยู่บ้าง กับมีอาการหนักจนควบคุมไม่ได้ และต้องได้รับการช่วยเหลือจากจิตแพทย์ แต่ในสถานการณ์คับขัน เช่น สัมภาษณ์งาน สัมภาษณ์เรียนต่อ รายงานหน้าชั้น นำเสนองานต่อหน้าหัวหน้าหรือลูกค้า รวมไปถึงการขึ้นไปพูดหรือแสดงต่อหน้าหลายๆ คน อาจสร้างความตื่นเต้นให้กับคุณจนทำอะไรไม่ถูก มือสั่น เสียงสั่น เหงื่อแตก ไปจนถึงใจสั่น เวียนหัว หรือไม่สามารถควบคุมตัวเองได้อย่างเต็มที่ หากเกิดอาการดังกล่าว สามารถลองฝึก หายใจ ในแบบที่ใช้กับผู้ป่วยโรคแพนิกหรือโรคตื่นตระหนกได้ 10 สัญญาณอาการโรค "ตื่นตระหนก" (Panic Disorder) วิธีฝึกหายใจ ลดอาการแพนิก-ตื่นตระหนก โรงพยาบาลมนารมย์ แนะนำวิธีฝึกหายใจเพื่อฝึกควบควบคุมลมหายใจ เพื่อช่วยให้อาการแพนิกหรือตื่นตระหนกดีขึ้น โดยใช้เวลาในการทำครั้งละ 10-15 นาที ดังนี้ นอนหงายตามสบายบนเตียงหรือพื้นที่ในบริเวณที่สงบ ปิดตา ทำจิตใจให้สบายๆ มือทั้งสองประสานวางอยู่บนหน้าท้อง ไม่เกร็ง ผ่อนคลายกล้ามเนื้ออกและหัวไหล่ ให้ทุกส่วนของร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย สูดลมหายใจเข้าช้าๆ รับรู้การเคลื่อนไหวข

"ซึมเศร้าซ่อนเร้น" ซึมเศร้าแต่ไม่แสดงอาการ คุณกำลังเป็นอยู่หรือเปล่า

รูปภาพ
  นอกจาก โรคซึมเศร้า จะอันตรายและควรรีบรักษาแล้ว การเป็นโรค ซึมเศร้า โดยไม่รู้ตัวยิ่งอันตรายกว่าเดิม ทางการแพทย์เราอาจเรียกอาการนี้ว่า “ซึมเศร้าซ่อนเร้น” ภาวะซึมเศร้าซ่อนเร้น คืออะไร นายแพทย์ไกรสิทธิ์ นฤขัตพิชัย จิตแพทย์ และกรรมการผู้จัดการ โรงพยาบาลมนารมย์ ระบุว่า “ภาวะซึมเศร้าซ่อนเร้น” (Masked Depression) มักไม่พบอาการซึมเศร้าที่ชัดเจน ผู้ป่วยโรคนี้หลายคนยังรับผิดชอบหน้าที่การงานได้ พูดจาทักทาย ยิ้มแย้มกับคนใกล้ชิดได้เหมือนไม่มีปัญหาอะไร แต่มัก มีความวิตกกังวล ไม่มีความสุข พูดถึงหรือแสดงอาการเจ็บป่วยทางกายให้เห็นบ่อยๆ เช่น ปวดหัว ปวดหลัง คลื่นไส้ แตกต่างจากผู้ป่วยโรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder) ตรงที่ผู้ป่วยจะมีอาการซึมเศร้าชัดเจน เช่น เบื่อหน่าย ท้อแท้ หมดกำลังใจ ขาดความสนใจในกิจกรรมที่เคยชอบ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด นอนไม่หลับ รู้สึกไร้ค่า คิดอยากตาย อาการที่สังเกตได้ ของผู้ป่วยภาวะซึมเศร้าซ่อนเร้น พูดถึงหรือแสดงอาการเจ็บป่วยทางกายให้เห็นบ่อยๆ เช่น ปวดหัว ปวดหลัง ปวดท้อง เจ็บหน้าอก หายใจไม่อิ่ม คลื่นไส้ ปั่นป่วนในท้อง  ไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุอาการป่วยทางกายที่เกิดขึ้น แต่หาสาเหต

เด็ก-ผู้สูงอายุ เที่ยวอย่างไรให้ปลอดภัยในยุคโควิด-19

รูปภาพ
  ช่วงที่อากาศเย็น โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจแพร่ระบาดมากขึ้น โดยเฉพาะ RSV เด็กที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน หากติดเชื้อ RSV ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล และมีจำนวน 5-10% ที่ต้องเข้าไอซียู  พ่อแม่ผู้ปกครองต้องระมัดระวัง ให้ลูกเล็กหรือที่น้ำหนักไม่เกิน 35 กิโลกรัมนั่งคาร์ซีทขณะเดินทาง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรงมากหากเกิดอุบัติเหตุไม่คาดคิด ส่วนเด็กโตก็ต้องคาดเข็มนัดนิรภัยเช่นเดียวกับผู้ใหญ่   สำหรับผู้สูงอายุควรได้รับการตรวจ สุขภาพ เบื้องต้นก่อนออกเดินทาง โดยเฉพาะการเดินทางที่ใช้เวลานานและไกล เพื่อดูว่ามีความพร้อมมากน้อยแค่ไหน สำหรับผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวควรพบแพทย์ก่อนเดินทางเพื่อรับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพระหว่างการท่องเที่ยว  ช่วงเทศกาลต่างๆ เป็นช่วงเวลาที่หลายคนรอคอย เพราะนอกจากจะได้ไปท่องเที่ยว แล้ว บางคนก็ถือโอกาสนี้เดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อไปใช้เวลากับคนในครอบครัว แต่ในสถานการณ์ที่มีโรคระบาดแพร่กระจาย เราก็อาจจะต้องเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น โดยเฉพาะบ้านที่มีทั้งเด็กและผู้สูงอายุ แล้วจะต้องเตรียมความพร้อมอย่างไรเพื่อให้ทุกคนในบ้านท่องเที่ยวอย่างปลอดภัย คำแนะนำในการเดินทางท่องเที

12 ยาสมุนไพรไทย ฟื้นฟูสุขภาพหลังหาย “โควิด-19”

รูปภาพ
  หลังติดเชื้อ โควิด -19 ผู้ติดเชื้อมักมีอาการ Long Covid หรือมีภาวะ Post  Covid-19  syndrome ได้แก่ มีไข้ ตัวร้อน อ่อนล้า อ่อนเพลีย ไอ ปวดตามข้อหรือกล้ามเนื้อ อารมณ์เปลี่ยนแปลง นอนไม่หลับ วิตกกังวล เป็นต้น ตำรับยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติที่ใช้บำบัดอาการดังกล่าว มีดังต่อไปนี้ ยาฟ้าทะลายโจร  ลดไข้ ต้านการอักเสบ ยาห้าราก (เบญจโลกวิเชียร)  แก้ไข้ กระทุ้งพิษไข้ (ทำให้พิษออกจากร่างกาย) ยาประสะจันทน์แดง  ลดไข้ แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ ยาจันทลีล า บรรเทาอาการไข้ตัวร้อน ไข้เปลี่ยนฤดู ยาหอมนวโกฐ  แก้ลมวิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน แก้ลมปลายไข้ (ลมปลายไข้ หมายถึง อาการผิดปกติหลักจากเจ็บป่วย เช่น เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ท้องอืด ท้องเฟ้อ ฯ) ยาตรีผลา  บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ ปรับสมดุลธาตุ ยาแก้ไอมะขามป้อม  ขับเสมหะ บรรเทาอาการไอ ยาประสะมะแว้ง  บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ ลดอาการระคายคอ ยาขิง  บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม แก้จุกเสียดท้อง น้ำมันกัญชา (ตำรับหมอเดชา)  แก้อาการนอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ช่วยให้เจริญอาหาร ยาแก้ลมแก้เส้น  แก้อาการปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ เจ็บแน่นหน้าอก ปวดจุกท้อง ยาศุขไสยาสน์  แก้อาการนอน

ผู้ป่วยโรคหัวใจ-ปอด ควรฉีดวัคซีน "โควิด-19" ป้องกันเสียชีวิต 90%

รูปภาพ
  สมาคมศัลยแพทย์ทรวงอกแห่งประเทศไทย แนะผู้ป่วย โรคหัวใจ  และโรคปอด ควรเร่งฉีด วัคซีน โควิด -19 หลังมีสถิติวิจัยและยืนยันอย่างเป็นทางการว่า การฉีดวัคซีนจะสามารถป้องกันการติดเชื้อ โควิด-19  ได้ถึง 50-80% และยังช่วยป้องกันการป่วยหนักจนถึงขั้นเสียชีวิต ได้มากถึง 90% ที่สำคัญ และยังมีอัตราความเสี่ยงจากการฉีดวัคซีนเพียงแค่ 0.002%   แพทย์หญิงปีนัชนี ชาติบุรุษ ศัลยแพทย์โรคทรวงอก โรงพยาบาลราชวิถี และนายกสมาคม ศัลยแพทย์ทรวงอกแห่งประเทศไทย เผยว่า ท่ามกลางการความพยายามแก้ไขปัญหาโรคโควิด-19 ณ ปัจจุบัน องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์กรสาธารณสุขทั่วโลกต่างลงความเห็นเดียวกันว่า วิธีจัดการกับการแพร่ระบาดของโควิดได้ดีที่สุด คือเร่งให้ประชากรได้รับวัคซีนอย่างน้อยร้อยละ 70 ขึ้นไป เพื่อให้เกิด Herd Immunity หรือภูมิคุ้มกันหมู่ขึ้นในพื้นที่ ซึ่งองค์กรสาธารณสุขไทยก็เข้าใจในข้อเท็จจริงนี้ดี และได้เร่งให้เกิดการเข้าถึงวัคซีนโดยเร็วที่สุด โดยเฉพาะกับกลุ่มเสี่ยงสูงอย่างกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า, กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป รวมถึงผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเสี่ยง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและลดความรุนแรงให้ลดน้อยลงที่สุด

แพทย์แนะ เมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคไต

รูปภาพ
  ผู้ป่วยโรค เบาหวาน ควรรับประทาน อาหาร ในสัดส่วนที่เหมาะสมและครบ  5  หมู่อย่างสมดุล ไม่ควรงดหรือจำกัดอาหารประเภทข้าว/แป้งมากจนเกินไป หรืออดอาหาร เพราะอาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้    ผู้ป่วย โรคหัวใจ  ควรหลีกเลี่ยงอาหารเค็มโดยไม่ควรรับประทานเกลือมากกว่า  1  ช้อนชาต่อวัน และควรเลือกรับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลต่ำ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและ  trans fat  สูง   น้ำหนักในอุดมคติ ( Ideal Body Weight: IBW)   หรือ น้ำหนักที่ควรจะเป็น โดยในผู้ชายให้นำส่วนสูงลบ 100  ส่วนในผู้หญิงให้นำส่วนสูงลบ 105  จะได้น้ำหนักในอุดมคติของแต่ละบุคคล   “You Are What You Eat”  เชื่อว่าทุกๆ คนคงเคยได้ยินประโยคสุดคลาสสิกคนี้ ที่เอาไว้เตือนใจให้หันกลับมาใส่ใจการเลือกรับประทานอาหารมากขึ้น เพราะอาหารที่เราเลือกรับประทานในแต่ละวันนั้นมีส่วนสำคัญต่อ สุขภาพ องค์รวมอย่างคาดไม่ถึง นอกจากจะเป็นขุมพลังงานให้กับร่างกายได้ไปทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงแล้ว อาหารยังเปรียบเสมือนยาที่มีส่วนช่วยดูแลรักษาอวัยวะต่างๆ ของเราให้มีสุขภาพที่ดีได้เหมือนกัน   ยิ่งไปกว่านั้น